วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วันยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี

http://www.gender.go.th/event/img/bg6/spacer.gifhttp://www.gender.go.th/event/img/bg6/spacer.gifhttp://www.gender.go.th/event/img/bg6/spacer.gif
ทำไมจึงต้องเป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน?

          เหตุผลที่องค์การสห ประชาชาติประกาศให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก และสตรี มีสาเหตุ มาจากเหตุการณ์สังหาร  นักเคลื่อนไหวทางการเมืองสตรีชาวโดมินิกัน 3 คน  คือ Patria, Maria and Minerva Mirable  ในคืนวันที่ 25 พฤศจิกายน 1961 อันเนื่องมาจากเหตุผลทางการเมืองในยุคการปกครองของนาย Rafael (1930 - 1961) ซึ่ง 20 ปี ให้หลัง จากเหตุการณ์ดังกล่าว นักเรียกร้องสิทธิสตรี ใช้วันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นวันรณรงค์และเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงต่อสตรีตลอดมา และในที่สุดองค์การสหประชาชาติ มีมติให้วันดังกล่าวของทุกปีเป็นวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 1999

เพราะเหตุใดจึงใช้สัญลักษณ์ริบบิ้นสีขาว?
          การรณรงค์ติดริบบิ้นสีขาว   เพื่อยุติความรุนแรงต่อสตรี ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศแคนาดา  เมื่อปี 1991 (พ.ศ.2534) หลังจาก เหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาหญิง ของมหาวิทยาลัยมอนทรีอัล จำนวน 14 ราย โดยผู้ทำการรณรงค์ เป็นกลุ่มอาสาสมัครชาย จำนวนประมาณ  1,000,000 คน  ที่ตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงต่อสตรี   และต้องการยุติปัญหาดังกล่าว    จึงได้เรียกร้องให้ผู้ชาย ทั่วโลก ร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาความรุนแรงต่อสตรี และแสดงตนว่าจะไม่เป็นผู้กระทำรุนแรงต่อสตรี  โดยสัญลักษณ์ริบบิ้นสีขาว
หมายถึง การยอมรับว่า จะไม่ทำร้ายหรือนิ่งเฉยต่อการใช้ความรุนแรงต่อสตรีในทุกรูปแบบ

อะไรคือความรุนแรงต่อเด็กและสตรี?
           เมื่อกล่าวถึงความรุนแรงต่อเด็กลแะ สตรี ภาพที่คนส่วนใหญ่จะนึกถึงคือเหตุการณ์การทำร้ายร่างกาย หรือการข่มขืน แต่ความจริงแล้ว ปัญหาความรุนแรงไม่ได้มีเฉพาะการทำร้ายร่างกายเท่านั้น ยังพบว่ามีรูปแบบการใช้ความรุนแรงอีกหลายรูปแบบ เช่น การใช้ความรุนแรงต่อจิตใจ อารมณ์  การทำความรุนแรงทางวาจา  ความรุนแรงในที่ทำงาน   รวมไปถึงการบังคับ กักขัง หน่วงเหนี่ยว อิสระภาพ เป็นต้น





วันเบาหวานโลก


    โรคเบาหวานถูกจัดให้เป็นสาเหตุของการตายเป็นอันดับ ๓ ของโรคไม่ติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิต โรคแทรกซ้อนที่สำคัญของผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นสาเหตุของการตาย คือ โรคไตวาย โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน นอกจากนี้ผู้ป่วยเป็นเบาหวานมีโอกาสตาบอด เนื่องจากจอประสาทตาเสื่อมสูงกว่าคนปกติถึง ๒๕ เท่า และมีโอกาสถูกตัดขาด เนื่องจากเกิดแผลตายเน่าที่เท้ามากกว่าคนปกติถึง ๔๐ เท่า 
              มีประชากรกว่า ๑๐๐ ล้านคนทั่วโลกป่วยเป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะในเอเชีย มีจำนวนถึง ๕๐ ล้านคน ทำให้แต่ละประเทศต้องใช้งบประมาณด้านสาธารณสุขประมาณ ๕% ต่อปี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาดูแลเบาหวานซึ่งโดยทั่วไปแล้วไม่ใช่ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยารักษาโรคเบาหวาน แต่เป็นค่าใช้จ่ายในการควบคุมรักษาโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคไตวาย การฟอกไต การเปลี่ยนไต โรคอัมพาต ตาบอด รวมทั้งการที่ต้องถูกตัดขา เนื่องจากโรคเบาหวาน ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
              ดังนั้นองค์การอนามัยโลกและสมาพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ จึงจัดให้มีวันเบาหวานโลกขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๙๑ และกำหนดให้วันที่ ๑๔ พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันเบาหวานโลก เพื่อให้องค์กรสาธารณสุขทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน โดยชักชวนให้หน่วยงานสาธารณสุขทั่วโลกจัดกิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน ควบคุมและรักษาโรคเบาหวานให้กับประชาชนทั่วไป
            สำหรับโรคเบาหวานในประเทศไทยนั้น จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า อัตราการตายของผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นตามลำดับ โดยในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ พบว่ามีผู้ป่วยโรคเบาหวานตาย ๓,๕๘๓ คน สูงขึ้นเป็น ๒ เท่าของปี พ.ศ. ๒๕๓๑ และในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ มีผู้เสียชีวิตจากโรคไตวาย รวม ๔,๖๔๑ คน
            ผู้มีอาการผิดปกติที่น่าสงสัยว่าจะเป็นโรคเบาหวาน คือ ผู้ที่มีอาการปัสสาวะบ่อย และมีปริมาณมาก กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อย กินจุแต่ผอมลง น้ำหนักลดและอ่อนเพลียผิดปกติ เป็นแผลฝีหายยาก คันผิวหนังและอวัยวะสืบพันธุ์ ตาพร่ามัว
            ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถรักษาและควบคุมไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้โดยการควบคุมอาหาร และควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ ควรน้อยกว่า ๑๔๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร และออกกำลังกายสม่ำเสมอ บางรายอาจต้องรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินภายใต้การดูแลของแพทย์
            สำหรับผู้ที่ต้องการฉีดอินซูลิน ในปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาพัฒนาอุปกรณ์การฉีดอินซูลินให้ทันสมัยขึ้น โดยใช้ปากกาฉีดอินซูลิน (NovoPen) แทนกระบอกฉีดยา ซึ่งเป็นทางเลือกในการฉีดอินซูลินที่ง่าย สะดวก ขนาดยาที่ได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น ทั้งยังเจ็บน้อยมากขณะฉีดยา อีกทั้งสามารถพกพาอินซูลินไปฉีดตามสถานที่ต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องแช่เย็นทำให้การฉีดยาไม่เป็นปัญหากับผู้ป่วยอีกต่อไป ทำให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมและดูแลเบาหวานได้ดีขึ้น
 

วันคนพิการ ( เสาร์สัปดาห์ที่ 2 เดือนพฤศจิกายน )

วันคนพิการแห่งชาติ
เสาร์สัปดาห์ที่? 2? เดือนพฤศจิกายน




วันคนพิการ ?ตรงกับวันเสาร์สัปดาห์ที่ ?2??พฤศจิกายน ของทุกปี ??ซึ่งสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กำหนดจัดขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้คนพิการได้พบปะ ?สังสรรค์ แสดงความ สามารถในด้านต่างๆ และเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ เกี่ยวกับการบำบัด ?รักษา การป้องกันและฟื้นฟู สมรรถภาพ ?รวมทั้งเพื่อให้คนทั่วไป ได้เห็น ถึงศักยภาพ ศักดิ์ศรีและคุณค่าของคนพิการของคนพิการ
ความหมายของคนพิการ
คนพิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งมีความสามารถถูกจำกัดให้ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และการมีส่วนร่วมทางสังคมได้โดยวิธีการทั่วไป เนื่องจากมีความบกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญาและการเรียนรู้และมีความต้องการจำเป็นพิเศษ ด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป (ความหมายตาม ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546 ไว้ดังนี้)
ประเภทของความความพิการ
1.1 พิการทางการมองเห็น
1.2 พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย
1.3 พิการทางกาย หรือการเคลื่อนไหว
1.4 พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม
1.5 พิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้
1.6 พิการซ้ำซ้อน

ประเภทของความความพิการคนพิการแต่ละประเภทมี รายละเอียดความพิการในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 กำหนดลักษณะ ดังนี้
พิการทางการมองเห็น คือ คนที่มีสายตาข้างที่ดีกว่าเมื่อใช้แว่นสายตาธรรมดา แล้วมองเห็นน้อยกว่า 6/18 หรือ 20/70 จนมองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง หรือมีเลนส์สายตาแคบกว่า 30 องศา
พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย การได้ยิน เด็กอายุน้อยกว่า 7 ปี ลักษณะความพิการ คือ หูตึงปานกลาง หูตึงมาก หูตึงรุนแรง หูหนวก ความดังเฉลี่ยเกิน 40 เดซิเบล จนไม่ได้ยิน ระดับความผิดปกติ 2 ถึง 5 เด็กอายุเกิน 7 ปี ถึงผู้ใหญ่ ลักษณะความพิการ คือ ความผิดปกติ หูตึงมาก หูตึงรุนแรง หูหนวก ความดัง 55 เดซิเบลขึ้นไป ระดับความผิดปกติ 2 ถึง 5 การสื่อสาร
พิการทางกาย หรือการเคลื่อนไหว ลักษณะความพิการ คนที่มีความผิดปกติหรือความบกพร่องของร่างกายเห็นชัดเจน และคนที่สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจวัตรในชีวิตประจำวันได้ ระดับความผิดปกติ 3 ถึง 5
พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม ลักษณะความพิการ คนที่มีความผิดปกติ ความบกพร่องทางจิตใจ หรือสมองในส่วนรับรู้ อารมณ์ ความคิด จนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมที่จำเป็นในการดูแลตนเอง หรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น ระดับความผิดปกติ ระดับที่ 1 และระดับที่ 2
พิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ ลักษณะพิการ คือ คนที่มีความผิดปกติ หรือความ บกพร่องทางสติปัญญาหรือสมอง จนไม่สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการศึกษาปกติได้
พิการซ้ำซ้อน มีความพิการมากกว่า 1 ลักษณะขึ้นไป

วันสำคัญ จริงๆนะห้ามลืมนะ เดือนพฤศจิกายน 2554


วันสำคัญที่สำคัญจริงๆนะในเดือนพฤศจิกายน
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 : วันลอยกระทง

ตารางให้บริการวัคซีน เดือน พฤศจิกายน 2554

วัน/เดือน/ปี
เวลา
ผู้ให้บริการ
หมายเหตุ
18/พ.ย./54
08.30 – 12.00
น.ส.วรรณา สุภาพ
รพ.สต.บ้านด่าน

ตารางให้บริการผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เดือน พฤศจิกายน 2554

วัน/เดือน/ปี
สถานที่รับยา
เวลา
ผู้ออกให้บริการ
8/ พ.ย./54
รพ.สต.บ้านด่าน
07.00 – 12.00
นายวัชระ แสนโหน่ง
15/ พ.ย./54
วัดอัมพวัน
07.00 – 12.00
นายดอกซ้อน สุระพันธ์
นางสาวสุจิตรา บริบาล