วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วันสำคัญ จริงๆนะห้ามลืมนะ เดือนตุลาคม 2554

แรม 15 ค่ำ เดือน 10 : วันสารทไทย
 

ขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 : วันออกพรรษา
 



วันที่ 14 ตุลาคม : วันประชาธิปไตย


 

วันที่ 23 ตุลาคม : วันปิยมหาราช
 
1 ตุลาคม วันผู้สูงอายุสากล


เครื่อง ยนต์ใหม่เมื่อใช้งานมาได้สักระยะหนึ่ง ก็จะกลายเป็นเครื่องยนต์เก่าและมีประสิทธิภาพในการทำงานจะลดน้อยลง ซึ่งก็เหมือนมนุษย์เราที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา จากเด็กเป็นวัยรุ่น เป็นผู้ใหญ่และเป็นผู้สูงอายุในเวลาต่อมา ผู้สูงอายุก็เช่นเดียวกันกับเครื่องยนต์เก่า ซึ่งเครื่องยนต์เก่าที่ยังทำงานได้ดีเหมือนเครื่องยนต์ใหม่ก็พบได้โดยทั่วไป

วันผู้สูงอายุสากล (International Day of Older Persons - International Day of Ageing)
วันผู้สูงอายุเริ่มได้รับความสำคัญตั้งแต่สมัย จอมพลป. พิบูลสงคราม เป็น นายกรัฐมนตรี ได้มีการกำหนดนโยบายที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ ดี มีคุณภาพ และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยได้มอบให้กรมประชาสงเคราะห์จัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชราขึ้นในปี 2496 เพื่อให้การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ที่เดือดร้อนมีความทุกข์ยาก ประสบปัญหาและไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง
เมื่อมาถึงสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ก็มีการสานต่อความสำคัญ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ 14 ธันวาคม 2525 อนุมัติให้ วันที่ 13 เมษายนของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุ และได้เลือก "ดอกลำดวน" เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ
สาเหตุที่เลือกดอกลำดวน ก็เพราะเป็นพืชยืนต้นที่มีอยู่มากใน สวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นต้นไม้ที่ให้ความร่มเย็น ลำต้นมีอายุยืน มีใบเขียวตลอดปี ให้ร่มเงาดีและดอกมีสีนวล กลิ่นหอม กลีบแข็งไม่ร่วงง่าย เหมือนกับผู้ทรงวัยวุฒิที่คงคุณธรรมความดีงามไว้ให้เป็นแบบอย่างแก่ลูกหลาน ตลอดไป นอกจากนั้นทางด้านพฤกษศาสตร์ ต้นไม้นี้ยังใช้เป็นยาบำรุงหัวใจได้อีกด้วย
ในส่วนของระดับนานาชาติก็ให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุมิใช่น้อย องค์การสหประชาชาติกำหนดให้ทุกวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี เป็น "วันผู้สูงอายุสากล" เริ่มมาตั้งแต่ปี 1999 หรือ พ.ศ. 2542
ขณะที่ปี พ.ศ. 2525 องค์การสหประชาชาติได้จัดประชุมสมัชชาโลกเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย และได้ให้ความหมายของคำว่า "ผู้สูงอายุ" หมายถึง บุคคลทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป และได้พิจารณาประเด็นสำคัญเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ไว้ 3 ประการ คือ ด้านมนุษยธรรม ด้านการพัฒนา และด้านการศึกษา
นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลกยังได้กำหนดให้ปี พ.ศ. 2525 เป็นปีรณรงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุ โดยกำหนดคำขวัญว่า Add life to years เพื่อ ให้ประเทศต่าง ๆ ช่วยกันส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุ ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการวันอนามัยโลก ของกระทรวงสาธารณสุข ได้มีมติให้ใช้คำขวัญเป็นภาษาไทย ว่า "ให้ความรัก พิทักษ์อนามัย ผู้สูงวัยอายุยืน"
ทั้งหมดนี้ก็คือลำดับความสำคัญของวันผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นมาในแต่ละช่วง ซึ่งมองดูก็เหมือนจะสวยหรู แต่เมื่อเทียบจากวันที่ถูกกำหนดขึ้นมา กับการเห็นความสำคัญอย่างแท้จริงที่ลูกปฏิบัติต่อพ่อแม่หรือผู้สูงอายุใน บ้านเรายังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อยมาก

ผู้สูงอายุ หมาย ถึง บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิง ซึ่งในการศึกษารวบรวมข้อมูลประชากรผู้สูงอายุได้แบ่ง ผู้สูงอายุเป็น 2 กลุ่มคือ ผู้สูงอายุตอนต้น และผู้สูงอายุตอนปลาย

ผู้สูงอายุตอนต้น หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 60-69 ปี ทั้งชายและหญิง
ผู้สูงอายุตอนปลาย หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 70 ปี ขึ้นไปทั้งชายและหญิง
อายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด หมายถึงจำนวนปีทีบุคคลหนึ่งเมื่อเกิดมาแล้วมีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปจนกระทั่งตาย
อายุขัยเฉลี่ยเมื่ออายุ 60 ปี หมายถึง จำนวนปีที่บุคคลหนึ่งเมื่ออายุครบ 60 ปี แล้วมีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป จนกระทั่งตาย


เดือนแห่งการ รณรงค์ต่อต้าน "มะเร็งเต้านนม"


คณะทูตคนดังของโครงการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านม 2554 
ปัจจุบันมะเร็งเต้านม ขึ้นชื่อว่าเป็นมัจจุราชอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทย  ด้วยเหตุนี้ศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถ (เพื่อโรคมะเร็งเต้านม)  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จึงจัดทำโครงการรณรงค์ส่งเสริมการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมใน ระดับทั่วประเทศและทั่วทุกภาคส่วนของสังคม  โดยสาระสำคัญที่จะเน้นย้ำคือการเล็งเห็นความจำเป็นเร่งด่วนเรื่องมะเร็งเต้านม พบเร็วมีโอกาสรักษาหายคนไข้มะเร็งเต้านมของศูนย์ฯ ส่วนใหญ่คือเหล่าบรรดาผู้หญิงด้อยโอกาส ยากจน และจากประสบการณ์ที่ได้จากการคลุกคลีกับคนไข้เหล่านี้ และจากการทำโครงการต่างๆ กับผู้หญิงในชุมชนแออัด ทำให้พบว่าผู้หญิงส่วนใหญ่มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมน้อยมาก โครงการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านมจึงถือเป็นโครงการสำคัญในปี 2554 นี้
การรณรงค์นี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่สตรีไทย เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม รวมทั้งโรคมะเร็งปากมดลูก  รูปภาพแต่ละภาพจะมีข้อความแตกต่างกันไปเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม ข้อความหลักของการรณรงค์ในครั้งนี้ คือ มะเร็งเต้านม พบเร็วมีโอกาสรักษาหาย ซึ่งปรากฎอยู่ด้านล่างของทุกภาพในปีนี้มีภาพ 16 ภาพ หมายถึง 16 ข้อความที่จะสื่อสารไปทั่วประเทศ เป็นข้อความที่นำมาจากคำถามของผู้หญิงไทย และข้อความทั้งหมดมีความสอดคล้องกันในการให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรค มะเร็งเต้านม ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำเสนอออกไปอย่างถูกต้องชัดเจน แต่บ่อยครั้งที่ขาดโอกาสและช่องทางในการนำเสนอในสื่อ และตามสถานที่ต่างๆรูปภาพทุกภาพถูกบันทึกลงในแผ่นซีดี และส่งออกไปยังบริษัทต่างๆ ศูนย์การค้า โรงงาน สถานศึกษา และที่ต่างๆ ที่สามารถนำเสนอต่อสาธารณะชน เพื่อเป็นการให้ความรู้ และเป็นการเตือนผู้หญิงไทยเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมภาพทูตกิติมศักดิ์พร้อมข้อความแต่ละภาพ   สามารถพิมพ์ออกมา และนำเสนอในบริเวณที่เหมาะสม เช่น ด้านหน้าล๊อบบี้, โรงอาหาร, ห้องน้ำ หรือในลิฟท์ ภาพเหล่านี้สามารถใช้ฉายบนจอภาพ หรือนำเสนอด้วยโปรแกรมเพาเวอร์พ้อยน์ และส่งทางจดหมายอิเลคโทรนิคส์
หากท่านต้องการแผ่นซีดีเพื่อนำ เสนอ โดยการพิมพ์รูปภาพและสื่อสารออกสู่สาธารณะ กรุณาติดต่อศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถ เพื่อโรคมะเร็งเต้านม ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2256 4198, 081-618-4101 คุณภาวนา หรือส่งทางจดหมายอิเลคโทรนิคส์มาที่ kajieab@gmail.com เพื่อรับแผ่นซีดี (ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ) เป็นการบริการแก่ผู้หญิงไทย โดยศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถเพื่อโรคมะเร็งเต้านม