
วันเอดส์โลก

วันเอดส์โลก
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก lib.ru.ac.th , ucsc.edu , aidsthai.org , altiusdirectory.com
เป็นที่ทราบกันดีว่า โรคเอดส์เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ที่ยังไม่มียาตัวใดรักษาให้หายขาดได้ อีกทั้งยังเป็นโรคที่คร่าชีวิตมนุษย์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบโรคเอดส์มากที่สุด
ดังนั้น จึงได้มีการพยายามหามาตรการเพื่อป้องกัน และหยุดยั้งโรคเอดส์ให้เป็นผลสำเร็จ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันเอดส์โลก หรือ World AIDS Day ซึ่งเริ่มครั้งแรกในวันที่ 1 ธันวาคม 2531 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้







สัญลักษณ์ วันเอดส์โลก
สัญลักษณ์ของ วันเอดส์โลก คือ โบว์สีแดง (Red Ribbon) เป็นสัญลักษณ์ของวันเอดส์โลก ที่ใช้กันทั่วโลก เพื่อแสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่างผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี โพซิทีฟ (HIV-positive) กับผู้ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเอดส์ทั้งหลาย

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 เป็นต้นมา จะมีการกำหนดคำขวัญ วันเอดส์โลก ขึ้น ซึ่งคำขวัญใน วันเอดส์โลก แต่ละปีมีดังนี้
























วันเอดส์โลก

โรคเอดส์ หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS : Acquired Immune Deficiency Syndrome) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสมีชื่อว่า ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเซียนซีไวรัส (Human Immunodeficiency Virus :HIV) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า เชื้อเอชไอวี โดยเชื้อเอชไอวีจะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ที่มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันต่ำลง จนร่างกายไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้อีก โรคต่าง ๆ (หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า โรคฉวยโอกาส) จึงเข้ามาซ้ำเติมได้ง่าย เช่น วัณโรค ปอดบวม ติดเชื้อในระบบโลหิต เชื้อรา ฯลฯ และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด
อย่างไรก็ตาม การที่คนเราจะได้รับเชื้อเอชไอวี หรือที่เรียกกันจนติดปากว่าติดเอดส์ได้นั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะติดกันได้ง่าย ๆ ในการใช้ชีวิตประจำวัน เว้นแต่จะมีช่องทางการติดที่เฉพาะจริง ๆ เท่านั้น โดยมีข้อสังเกตง่าย ๆ 3 ประการ ดังนี้




กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โรคเอดส์ หรือ HIV ได้แก่





เชื้อไวรัสเอดส์มีหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์หลักดั้งเดิมคือ เอชไอวี-1 (HIV-1) ซึ่งแพร่ระบาดในแถบสหรัฐอเมริกา ยุโรป และแอฟริกากลาง , เอชไอวี-2 (HIV-2) พบแพร่ระบาดในแถบแอฟริกาตะวันตก นอกจากนี้ยังพบสายพันธุ์อื่นๆ ที่กลายพันธุ์มาอีกมากมาย

ในปัจจุบันทั่วโลก พบสายพันธุ์เชื้อเอชไอวี มากกว่า 10 สายพันธุ์ กระจายอยู่ตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยพบมากที่สุดที่ทวีปแอฟริกามีมากกว่า 10 สายพันธุ์ เนื่องจากเป็นแหล่งแรกที่พบเชื้อเอชไอวี และกระจายอยู่เป็นเวลานานกว่า 70ปี สายพันธุ์ที่พบมากที่สุดคือใน โลก คือสายพันธุ์ซี มากถึง 40% พบในทวีปแอฟริกา อินเดีย จีน รวมทั้งพม่า ส่วนในประเทศไทยพบเชื้อเอชไอวี 2 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์เอ-อี (A/E) หรืออี (E) พบมากกว่า 95% แพร่ระบาดระหว่างคนที่มีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง กับสายพันธุ์บี (B) ที่แพร่ระบาดกันในกลุ่มรักร่วมเพศ และผ่านการใช้ยาเสพติดฉีดเข้าเส้น
ขณะที่สายพันธุ์ซีเดี่ยว ๆ ยังไม่พบในประเทศไทย พบเพียงแต่สายพันธุ์อี-ซี ที่เป็นลูกผสมระหว่างสายพันธุ์อีในประเทศไทย และสายพันธุ์ซีจากทวีปแอฟริกา แต่ทั้งนี้หากยังจำข่าวเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาได้ จะพบว่า ประเทศไทยพบผู้หญิงชาวไทย 2 คนติด โรคเอดส์ สายพันธุ์ใหม่ เป็นเชื้อเอชไอวีผสมระหว่าง 3 สายพันธุ์ ได้แก่ เอ จี และดี เรียกว่า เอจี-ดี (AG/D) และเป็นเชื้อเอชไอวีผสม 3 สายพันธุ์ ได้แก่ เอ อี และจี เรียกว่า เออี-จี (AE/G) ซึ่งคาดว่าจะติดมาจากทวีปแอฟริกา ซึ่งสายพันธุ์ดังกล่าวจะมีความเข้มข้นในน้ำเมือกหรือสารคัดหลั่งมาก ทำให้ผู้สัมผัสติดเชื้อได้ง่าย และแพร่ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์จากทวีปอื่น

เมื่อติดเชื้อเอดส์แล้ว จะแบ่งช่วงอาการออกเป็น 3 ระยะ คือ





ปัจจุบัน ยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ มีแต่เพียงยาที่ใช้เพื่อยับยั้งไม่ให้ไวรัสเอดส์เพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่ไม่สามารถกำจัดเชื้อเอดส์ให้หมดไปจากร่างกายได้ ยาต้านไวรัสเอดส์ในปัจจุบันมี 3 ประเภทคือ



หากรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์แล้ว อาจมีผลข้างเคียงคือ คลื่นไส้อาเจียน มีผื่นตามผิวหนัง โลหิตจาง ฯลฯ ดังนั้นการรับประทานยาเหล่านี้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์

จากข้อมูลทางการแพทย์ระบุชัดว่า เชื้อ เอชไอวีไม่สามารถแพร่สู่กันได้โดยการติดต่อในชีวิตประจำวันกับผู้ติดเชื้อเอ ชไอวี และไม่สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางการกอด การสัมผัสมือที่เป็นการทักทายแบบชาวตะวันตก หรือการปฏิสัมพันธ์ภายนอกอื่น เช่น การใช้ห้องน้ำร่วมกัน การใช้เตียงนอนร่วมกัน การใช้อุปกรณ์รับประทานอาหารหรือรถแท็กซี่ร่วมกัน
นอกจากนี้ เอชไอวีไม่ใช่โรคติดต่อทางอากาศ เหมือนกับไข้หวัด และไม่ติดต่อผ่านทางแมลง หรือ ยุง โดยทั่วไปแล้วเชื้อเอชไอวีติดต่อกันผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย มี ข้อมูลยืนยันชัดเจนว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีติดจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน การแลกเปลี่ยนของเหลวในร่างกาย เช่น อสุจิ เลือด หรือของเหลวในช่องคลอด นอกจากนี้เชื้อเอชไอวียังสามารถติดต่อผ่านทางการใช้เข็ม หรืออุปกรณ์ฉีดยาร่วมกันของผู้ใช้ยาเสพติด ขณะที่ผู้หญิงตั้งครรภ์สามารถแพร่เชื้อไปสู่ลูกได้ในระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอดและการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่

โรค เอดส์ เริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี พ.ศ. 2424 โดยพบที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จากชายรักร่วมเพศคนหนึ่ง และเมื่อศึกษาย้อนหลังพบว่า โรคเอดส์นี้มีต้นกำเนิดในบริเวณทวีปแอฟริกาตะวันตก ก่อนจะแพร่ไปยังทวีปอื่น ๆ ทั่วโลก และอัตราผู้ป่วยโรคเอดส์เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา
โดยในปี พ.ศ.2546 มีการรายงานพบผู้ป่วย โรคเอดส์ ทั่วโลกกว่า 38 ล้านคน ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ 31 ล้าน และเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีอีก 7 ล้านคน ขณะที่ในทวีปเอเชียมีอัตราเพิ่มของผู้ติดเชื้อมากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมดทั่วโลก โดยในประเทศจีน อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นประเทศต้น ๆ ที่มีอัตราการรับเชื้อเพิ่ม เฉพาะรัสเซียประเทศเดียวก็มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่ต่ำกว่า 860,000 คน
ทั้ง นี้ รายงานสถานการณ์เอดส์ทั่วโลกล่าสุด (www.unaids.org/unaids/ (English orignial, December 2009) คาดว่ามีผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีแล้วประมาณ 60 ล้านคน และมีผู้ที่เสียชีวิตจากสาเหตุการติดเชื้อเอชไอวีอีกประมาณ 25 ล้านคน โดยเฉพาะใน พ.ศ.2551 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลกประมาณ 33.4 ล้านคน (31.1 - 35.8 ล้านคน) เป็นผู้ใหญ่ประมาณ 31.3 ล้านคน (29.2-33.7 ล้านคน) มีผู้หญิงที่ติดเชื้อ ประมาณ 15.7 ล้านคน (14.2-17.2 ล้านคน) เป็นเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปีประมาณ 2.1 ล้านคน (1.2-2.9 ล้านคน) และเป็นผู้ที่เสียชีวิตจากโรคเอดส์ประมาณ 2.0 ล้านคน (1.7-2.4 ล้านคน) ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น ประมาณ 2.7 ล้านคน (2.4-3.0 ล้านคน) ทั่วโลก โดยคาดว่าจะมีเด็กวัยรุ่นที่อายุ 15-24 ปีมีการติดเชื้อ ร้อยละ 40 ในขณะที่ผู้หญิงมีการติดเชื้อถึง ร้อยละ 48

แผนผังแสดงจำนวนผู้ติดเชื้อเอดส์ในปี ค.ศ.2008
นอกจากนี้ คนในทวีปแอฟริกา แถบทะเลทรายซาฮารา ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีมากที่สุดในครัวเรือนประมาณ ร้อยละ 67 ของผู้ติดเชื้อทั่วโลก โดยมีเด็กที่ติดเชื้อรายใหม่ประมาณ ร้อยละ 91 และมีเด็กกำพร้ามากกว่า 14 ล้านคนในทวีป รองลงมาอยู่ในแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 3.8 ล้านคน โดยส่วนใหญ่ประเทศที่มีการติดเชื้อสูง ร้อยละ 97 จะอยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำ หรือยากจนและอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง นอกจากนี้ ยังพบว่าประมาณ 1 ใน 3 คน ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรคแทรกซ้อนจาก วัณโรค

วันเอดส์โลก

จากรายงาน สถานการณ์ผู้ป่วย เอดส์ และผู้ติดเชื้อที่มีอาการในประเทศไทยล่าสุด (31 สิงหาคม 2553) สำนักระบาดวิทยา รายงานว่ามีจำนวนผู้ป่วยเอดส์ ทั้งสิ้น จำนวน 368,921 ราย เสียชีวิตแล้วจำนวน 97,694 ราย โดยแนวโน้มของผู้ ป่วยเอดส์และผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ ลดลงกว่าในอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากการรักษาผู้ป่วยเอดส์ด้วยยาต้านไวรัสทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงทำให้มีผู้ป่วยเอดส์และผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ลดลงกว่าอดีต
อย่างไรก็ตาม พบว่า รายงานผู้ป่วยเอดส์ส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงาน และวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15-59 ปี) ร้อยละ 93.45 พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ30-34 ปีร้อยละ 25.04 รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 25-29 ปีร้อยละ 22.03
อัตราป่วยในกลุ่มวัยแรงงานและวัยเจริญพันธุ์ที่อายุ 15-59 ปี พบว่าเพศชายมีสัดส่วนของอัตราป่วยเอดส์สูงกว่าเพศหญิง เท่ากับ 2 : 1 ซึ่งพบว่าผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไปมีอัตราป่วยเอดส์ ร้อยละ 5.49 ในขณะที่กลุ่มเด็กอายุ 0-14 ปี มีอัตราป่วยเอดส์ ร้อยละ 5.09 ตามลำดับ
ทั้งนี้ ผู้ป่วยเอดส์ส่วนใหญ่มีปัจจัยเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ สูงถึงร้อยละ 84.29 เป็นเพศชายรักต่างเพศ ร้อยละ 67.00 และ เป็นหญิงรักต่างเพศ ร้อยละ 33.00 รองลงมาเป็นกลุ่มที่ไม่ทราบปัจจัยเสี่ยง และอื่น ๆ ร้อยละ 7.57 กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดร้อยละ 4.47 กลุ่มที่ติดเชื้อจากมารดา พบร้อยละ 3.65 และกลุ่มรับเลือดร้อยละ 0.02 ตามลำดับ
ขณะที่จำนวนผู้ป่วยเอดส์ส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำ และประกอบอาชีพการใช้แรงงาน/รับจ้างทั่วไป ( ลูกจ้างโรงงาน ขับรถรับจ้าง กรรมกร) ร้อยละ 45.22 รองลงมาเป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 19.80 ผู้ที่ว่างงาน ร้อยละ 6.02 ค้าขาย ร้อยละ 4.54 แม่บ้านร้อยละ 4.24 เด็กต่ำกว่าวัยเรียน 2.70 ข้าราชการ (ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ และข้าราชการไม่ทราบสังกัด) ร้อยละ 3.07 ผู้ต้องขัง ร้อยละ 1.56 และอื่น ๆ รวมทั้งผู้ที่ไม่ระบุอาชีพ ร้อยละ 4.45

เราสามารถป้องกัน โรคเอดส์ ได้ โดย



